วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557


การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
3 วิธี
1. ขั้นเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
1.1 การลงรหัส
1.2 การตรวจสอบ
1.3 การจาแนก
1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ

2. ขั้นตอนการประมวลผล
คือ เป็นการนาเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
2.1 การคานวณ
2.2 การเรียงลาดับข้อมูล
2.3 การสรุป
2.4 การเปรียบเทียบ

3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนาเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2.จงเรียงลาดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
บิต(Bit) หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล เป็นภาษคอมพิวเตอร์ เลขฐาน 2 คือ 0 และ1
ไบต์(Byte) การนำบิตมารวมกันเรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร เช่น ฐานข้อมูลที่ computer รู้ คือ 0 และ 1 พอเรา กด keyboard ก จะสั่งการไป 01011010 ซึ่งภาษคอมจะรู้เพียง 0 และ 1 แต่สายตาเราจะเห็นเป็นอักขระออกมาเป็น ก
ฟิลด์(Field) การนำไบต์หลาย ๆ มารวมกัน เรียกว่า เขตข้อมูล เช่น เรากด keyboard อักษรที่เป็นคำเช่น รายชื่อก็คือตัวอักษรหรืออักขระรวมกันหลาย ๆ ออกมาเป็นคำหรือฟิลด์ที่ชื่อว่า รายชื่อ
เรคอร์ด(Record) การนาฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน เรียกว่า ระเบียน เช่น นำหัวข้อ รายชื่อ”+”คะแนนสะสม” +”กิจกรรมซึ่งลัษณนี้คือ 3 ฟิลมารวมกันก็คือ เรคอร์ดนั่นเอง
ไฟล์(File) การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกันเรียกว่า แฟ้มข้อมูล เช่น เรานำ เรคอร์ด รายชื่อ คะแนนสะสม กิจกรรม โดยตั้งชื่อให้เป็นชื่อ นาย เอ และนาย บี ก็เก็บข้อมูลลักษณะเดียวกันไปเรื่อย ๆ ก็จะเรียกว่า File นั่นเอง
ฐานข้อมูล(Database) การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล เช่น เราบันทึกข้อมูลของนาย A โดยเก็บแฟ้มประวัติ เป็น คะแนนสะสม กิจกรม รายวิชาที่สอบได้ แล้วก็บันทึกเป็นแฟ้มประวัติของแต่ละคนก็จะเรียกว่า ฐานข้อมูล หรือเปรียบเทียบง่าย การบันทึกแฟ้มประวัติการขาดลามาสายของพนักงานแต่ละท่านนั่นเองเพื่อฝ่าย HR จะได้ทำใบ Time Sheet เพื่อส่งให้ Manager รู้รู้ถึงการขาดสายลามาป่วยของพนักงานแต่ละท่านซึ่งโรงงานผมใช้หลักการแบบนี้ครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีระบบใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

ที่ผมเห็นได้ชัดเกี่ยวกับนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงาน
คือระบบตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลที่ใช้ไป ซึ่งบริษัทผมให้ได้ต่อคนนั้นอยู่ที่ 15000 บาทต่อปี ซึ่งพนักงานแต่ละท่านจะมีการลาป่วยและบิกค่ารักษาพยาบาลที่แตกต่างกันออกไปบางคนก็จำได้บางคนก็จะไม่ได้ ซึ่งเวลาไปเบิกค่ารักษาพยาบาลจะมีพนักงานคอย key ข้อมูลเข้าไปในระบบฐานข้อมูลเพื่อให้พนักงานแต่ละท่านสามรถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือที่สามารถเบิกได้สำหรับค่ารักษาพยาบาล
ประโยชน์ทีได้รับคือ
1.พนักงานสามารถตรวจสอบยอดเงินที่คงเหลือในการเบิกค่ารักษาโดยเพียงป้อนรหัสบัตรประชาชนเข้าไปในระบบ
2.พนักงานไม่ต้องคอยไปถามฝ่าย HR ว่าสามารถเบิกเงินได้อีกเท่าไหร่
3.พนักงานสามารถรู้และบริหารค่ารักษาพยาบาลได้ในกรณีเจ็บป่วยต่าง ๆ
4.เป็นระบบที่รวดเร็วและสามารถตรวจสอบได้เองทุกที่เพราะผ่านระบบ Internet

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
แตกต่างตรงที่แบบแบชจะเป็นข้อมูลที่ส่งแยกกันเป็นกลุ่ม ๆ แล้วนำข้อมูลมาประมวลผลไม่มีการตอบโต้ระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ แต่ระบบแบบเรียลไทม์ สามารถทำงานและตอบโต้หรือแสดงผลลัพทธ์ได้ทันทีทำให้เราเห็นภาพหรือการแสดงผลนั้นได้ทันทียกตัวอย่างเช่น บัตแครดิตตามห้างร้านซึ่งเมื่อเราใช้ไปสามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือได้ทันที

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น